วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

เจียวกู่หลาน ( ปัญจขันธ์)

“ปัญจขันธ์” มีชื่อจีนว่า “เจียวกู่หลาน” (Jiaogolan) หรือ ซีแย่ตั่น เซียนเฉ่า
มีคำแปลเก๋ๆ ว่า สมุนไพรอมตะ และมีชื่อญี่ปุ่นว่า อะมาซารู (ชาหวานจากเถา) ฟากตะวันตกเขาก็มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อ เช่น Miracle grass (หญ้ามหัศจรรย์) หรือ Southern ginseng (โสมภาคใต้) หรือ 5-Leaf ginseng (โสมห้าใบ) ดังนั้น “ปัญจขันธ์” จึงนับว่าเป็นหญ้าสารพัดชื่อที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัญจขันธ์ พืชล้มลุกชนิดเถาเลื้อยที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมีในประเทศไทย อยู่ในวงศ์แตง แต่คนไทยเพิ่งจะเริ่มปลูกกันและให้ความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ ในขณะที่คนจีนในภาคใต้ของประเทศนำปัญจขันธ์มาบำรุงร่างกายกันนานแล้ว โดยคนจีนรู้จักกันในชื่อ เจียวกู่หลาน หรือ เซียนเฉ่า (สมุนไพรอมตะ) และเริ่มแพร่หลายเข้าไปในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๓ มีชื่อญี่ปุ่นว่า อะมาซาซูรู แปลว่า ชาหวานจากเถา
มีงานวิจัยสมุนไพรนี้จากประเทศจีนและญี่ปุ่นจำนวนมาก พบว่ามีสารสำคัญที่เรียกว่าสารกลุ่มจิปพีโนไซด์ ซึ่งเป็นารประเภทไตรเทอร์พีนซาโพนินที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายสารกลุ่มจินเซนโนไซด์ที่พบในโสม ทั้งๆที่พืชทั้ง ๒ ชนิดนี้ ไม่มีความสัมพันธ์กัน โดยสารจิบพีโนไซด์ที่พบในปัญจขันธ์มี ๘๒ ชนิดแต่ซาโปนินที่พบในโสมมีแค่ 28 ชนิด และอีก ๑๑ ชนิดมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับจินเซนโนไซด์ มีรายงานการวิจัยในห้องปฏิบัติการในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง
ฤทธิ์ของสารจิบพีโนไซด์ในปัญจขันธ์ หรือสารสกัดปัญจขันธ์ ต้านอนุมูลอิสระ
ลดระดับไขมันในเลือด
เสริมภูมิคุ้มกัน
ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด
ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด
ต้านการอักเสบ
ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีการพบสารซาโปนินชื่อฟาโนไซด์ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยแอลกอฮอล์ร่วมกับกรดเกลือหรือจากยาต้านอักเสบอินโดเมทาซินหรือจากการกระตุ้นให้หนูเกิดความเครียด
กระตุ้นการหลั่งไนตริกออกไซด์จากเซลล์ผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายตัว
ป้องกันการเกิดพิษต่อตับของสารที่เป็นพิษต่อตับ เช่น พาราเซตามอลคาร์บอนเตตราคลอไรด์
จนได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดสมุนไพรแห่งชาติ ปี 2548
สรุปผลจากการวิจัยคุณสมบัติของเจียวกู่หลาน หรือปัญจขันธ์
จากการวิจัยคุณสมบัติของเจียวกู่หลาน หรือ ปัญจขันธ์ โดย Gulyang Medical College แห่งประเทศจีน ซึ่งมี Dr.Jia luilui เป็นหัวหน้าคณะวิจัย ได้สรุปผลการรับประทานปัญจขันธ์ไว้ 5 ประการ
ช่วยลดความเครียดและช่วยให้นอนหลับง่ายเพียงแค่รับประทานให้มีค่า Gypenoside วันละ 60 mg พบว่า 95% สามารถนอนหลับดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์
สามารถกำจัดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ โดยการบริโภคให้มีสาร Gypenoside เพียง 40 mg ต่อวัน จะทำให้ร่างกายสามารถสร้างสารต้านทานอนุมูลอิสระ (superoxide dismutase, SOD) ได้มากถึง 3 เท่าของที่เคยเป็น
เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายโดยควบคุมฮอร์โมนแห่งความเครียดซึ่งมักหลั่งออกมามากเมื่อร่างกายเราเกิดความเครียด ซึ่งมีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ติดเชื้อโรคได้ง่าย การบริโภคปัญจขันธ์ให้ได้สารดังกล่าวเพียง 240 mg ต่อวัน สามารถลดการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ถึง 30% ทีเดียว
ลดความดันและลดไขมันหรือคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยรับประทานปัญจขันธ์ให้ได้รับสารดังกล่าว 300 mg ต่อวัน สามารถลดความดันโลหิตจาก 220/110 ลงเป็น 120/80 ได้ภายใน 2 สัปดาห์ และยังลดความเสี่ยงหลอดเลือดแดงอุดตันถึง 25%
นอกจากนี้จากการศึกษา ยังพบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการเผาผลาญไขมันของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งนำไปสู่การลดน้ำหนัก และลดการเกิดโรคที่เกิดเนื่องจากไขมันและคอเรสเตอรอล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : · Gynostemma pentaphyllum Makino.
ชื่อวงศ์ : · Cucurbitaceae
ชื่อภาษาอังกฤษ : · Miracle grass (หญ้ามหัศจรรย์), Southern ginseng (โสมภาคใต้), 5-Leaf ginseng (โสมห้าใบ)
ชื่อจีน : · เจียวกู่หลาน เซียนเฉ่า (สมุนไพรอมตะ)
ชื่อญี่ปุ่น : · อะมาซาซูรู (ชาหวานจากเถา)
ลักษณะ : · พืชเป็นพืชล้มลุกชนิดเถา เลื้อยขนานกับพื้นดิน รากงอกออกจากข้อเป็นประเภทแตงน้ำเต้า มีใบ 3-5 ใบ ด้านบน และด้านล่างใบมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม เป็นพืชขึ้นตามธรรมชาติ ส่วนที่นำมาใช้คือส่วนเหนือดินของพืชที่มีอายุ 4-5 เดือน ขึ้นไป

กลับหน้าแรก